ภาษาไก่ชน

ภาษา คือ คำพูด หรือกิริยา อาการหนึ่งซึ่งทำความเข้าใจกันได้
ไก่ชน คือ  ไก่ชนพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่มีนิสัยของการ ต่อสู่ในไก่ชนจะมีฮอร์โมนพิเศษชนิดหนึ่ง เมื่อถึงเวลาหลั่งออกมาจะทำให้ไก่เกิดพฤติกรรมการต่อสู้ที่มีความดุร้ายต่อไก่เพศเดียวกัน
ภาษาไก่ชน คือคำพูด หรือ กิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับไก่ชน ภาษาไก่ชนส่วนมากมาจากภาษาท้องถิ่น เป็นศัพท์เฉพาะมีมากมายหลายอย่างเท่าที่รวบรวมได้ส่วนหนึ่ง ดังนี้
 เจี๊ยบ คือ เสียงร้องของลูกไก่เกิดใหม่
ก๊าก  คือ เสียงร้องของไก่ตัวเมียวัยเจริญพันธุ์เมื่อจะออกไข่
กระต๊าก คือ  เสียงร้องของไก่ตัวเมียวัยเจริญพันธุ์เมื่อออกไข่เสร็จ
กระเติ๊ก  คือ เสียงร้องของไก่ตัวผู้วัยเจริญพันธุ์ มักร้องรับไก่ตัวเมีย กระต๊าก
ขัน  คือ เสียงร้อง ของไก่ตัวผู้วัยเจริญพันธ์ ถ้าร้องเป็นเวลา เรียกว่า ขันยาม ถ้าร้องเมื่อพบไก่อื่น เรียกว่า ขันแข่ง
ลูกเจียบ คือ ลูกไก่ที่ออกมาจากไข่ใหม่ๆยังมีขนปุยอยู่ ยังต้องอาศัยการเลี้ยงดูแลความอบอุ่นจากแม่ไก่
ไก่กระทง คือ ไก่ที่เจริญเติมโตจากลูกเจี๊ยบมีขนปีก ขนหาง ขนพื้นตัวขึ้นแล้ว สามารถหากินและช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว
ไก่กระแอ คือ ไก่กะเตาะเป็น เป็นไก่ที่เจริญเติบโตจากไก่กะทง มีขนสร้อย ขนกะลวยขึ้นแล้ว ตัวผู้ เริ่มสอนขัน ตัวเมียเริ่ม ก๊าก
ไก่หนุ่ม คือ ไก่อ่อนที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วสุดปีก สุดหาง ผ่านการฝึกซ้อม และผ่านสังเวียนมาแล้วแต่ยังไม่เปลี่ยนขนหรือถ่ายขน
ไก่แซม คือไก่  ไก่หนุ่มที่เริ่มเปลี่ยนขน  หรือถ่ายขนมาบ้างแล้วเป็นบ้างส่วน แต่ยังไม่ถ่ายขน หมดตัว ส่วนมากจะแซมปีก ไชนอก สร้อยคอและสร้อยหลัง
ไก่ถ่าย  คือ ไก่ที่ถ่ายขนหรือเปลี่ยนขนทั้งหมดทั้งตัวตามปกติไก่จะเปลี่ยนขนของไก่ ปกติปีละ 1 ครั้ง เรียกถ่ายขนไก่ที่ถ่ายแล้ว เรียกลูกถ่าย
ไก่รอยเล็ก  คือ  ไก่ที่มีขนาดตัวเล็ก น้ำหนักไม่เกิน  3 กิโลกรัม
ไก่รอยใหญ่  คือ  ไก่ที่มีขนาดตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน 3 กิโลกรัม
ไก่ได้รอย  คือ  ไก่รอยใหญ่นั้นเอง ปัจจุบัน นิยมหนัก 3.5-4 กิโลกรัม
ไก่ตั้ง  คือ  ไก่เข้าชนโดยไม่มีชั้นเชิงยืนตั้งโจ้ตีกัน
ไก่ลง  คือ  ไก่เข้าชนโดยหลบหลีก หลบซ่อนอยู่ ข้างล่างใต้อกคู่ต่อสู้ เช่น ลงซุ่มซ่อน  ลงจิก  ลงลอดทะลุหลัง  ลงมัดปีก เมื่อมีโอกาสหรือคู่ต่อสู้ เผลอจะรีบมาทำคู่ต่อสู้
ไก่เชิง  คือ ไก่ที่เข้าชนโดยใช้ชั้นเชิงการต่อสู้ซึ่งทั่วๆไปจะมี 8 เชิงหรือ 8 กระบวนท่าที่นิยม คือ กอดทับหรือขี่ มัด ม้าล่อแข้ง เปล่า จิกขา เท้าบ่า จุ่มหน้ากระเพาะ
ไก่คู่  คือ  ไก่ที่เคยชน เคยซ้อมกันมากแล้วรู้เชิง  รู้แพ้   รู้ ชนะ  กันมาแล้ว นำมาชนกันใหม่ (เป็นการหลอกให้นักเลงไก่หลงกล)
ไก่เดาะ คือ เดาะไก่  ไก่ที่ปล้ำหรือซ้อมแล้วหนีคู่ต่อสู้ หรือไม่ยอมสู้ คู่ต่อสู้ ไม่นิยมนำไปเลี้ยงชนถือเป็นไก่ใจ เสาะ
ปล้ำไก่  คือ การทดลองนำไก่มาซ้อมชนกันโดยมีเครื่องป้องกันอันตราย เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งดูชั้นเชิงหรือคัดเกรด คัดพันธุ์
เสียไก่ คือ ไก่ที่ปล้ำหรือชนมาแล้ว เกิดอุบัติเหตุ หรือด้อยสมรรถภาพลง เลี้ยงชนต่อไปไม่ได้ เรียกว่า เสีย ไก่ ไก่แบบนี้ถ้านำไปบำรุงรักษาเลี้ยงดูให้ดี อาจจะนำกลับมาเลี้ยงชนใหม่ได้
เสียตัว  คือ  ไก่ที่ปล้ำหรือชนมาแล้วอาจแพ้หรือพิการ นำไปเลี้ยงใหม่ไม่ได้เลย เรียก เสียตัว
เสียเชิง  คือ ไก่ที่ถูกคู่ต่อสู้ใช้ชั้นเชิง ที่เหนือกว่าเข้าทำเอาจนไม่สามารถทำคู่ต่อสู้ได้เลย เช่น ถูกขี่ ถูกทับ จนหงายไพล่ เรียก ว่า เสียเชิง
ได้เชิง  คือไก่ ที่ตีคู่ต่อสู้ตามเชิงที่ถนัด เช่น ขี่ตี หูนอก ทำให้คู่ต่อสู้เสียเชิงทำอะไรไม่ได้
ได้ไก่  คือไก่ที่เข้าชนชนะมาแล้ว เรียกได้ไก่ ถ้าชนะ 2 ครั้ง เรียกได้ 2 ไก่ เป็นต้น
ได้หน้า  คือ  ไก่ที่ปล้ำมาแล้ว  มีบาดแผลที่บริเวณหน้า นักเลงไก่ถือได้ว่าปล้ำได้ดี จะได้ถ่ายเลือดเสียออกมา
ได้คู่  คือ ไก่ที่นำไปเปรียบปล้ำหรือเปรียบชนแล้วได้มีคู้ชน เรียกว่า ได้คู่ชน
ได้รอย  คือ ไก่ที่มีขนาดโต ได้มาตรฐาน ปัจจุบันนิยม  น้ำหนัก 3-4 กก. เรียก ได้รอย ได้ขนาด (ได้รอยอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ได้เชิงดี )
ตีไก่  คือ การนำไก่มาชนให้แพ้-ชนะกัน เพื่อชิงเดิมพัน
ชนไก่ คือ มีความหมายเหมือนตีไก่
ตีแผล คือ ไก่ตีคู่ต่อสู้มีอาการบาดเจ็บ เห็นบาดแผลได้ชัด เช่น ตีหน้า ตีตา ตีตัว
ตี 2 แผล  คือ ตีแผลบน ตีหัว ตีหน้า เรียกแผลโชว์ และตีแผลล่าง ตีหัวตีคอน้อย ตีปั้นขา เรียกแผลหมก
แผลครู  คือ บาดแผลสำคัญทำให้ไก่แพ้ได้ง่าย เช่น บ้องหู ท้ายเสนียด คอเชือด คอน้อย เบ้าตา
ตีบ้อง  คือ ไก่ที่ตีคู่ต่อสู้ บริเวณใบหูและตุ้มหู เรียก ตีบ้องหู แผลนี้สำคัญมาก จะทำหกูดับงแพ้ง่าย
ตีหัก  คือไก่ที่ตีคู่ต่อสู้มีอาการทรุด เกร็ง ล้ม ไก่ฟื้นตัวยาก
ตีชัก  คือไก่ที่ตีคู่ต่อสู้ชักดิ้น วิ่งกระโดด ไก่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าตีหัก
ปากเร็ว  คือไก่ที่จิกคู่ต่อสู้ได้รวดเร็ว คือ จิกแล้วตีเลย เรียก ว่าปากถึง ตีนถึง นิยมมาก
ปากช้า คือ ไก่ที่ไม่ค่อยจิกคู่ต่อสู้ หรือจิก แล้วไม่ตี
ซ้อมปาก   คือ การปล่อยให้ไก่ชนกันก่อนจะเดิมพัน เพื่อรอดูว่าไก่จะสู้ติดหรือไม่ ถ้าไก่สู้ไม่ติดหรือเกิดอุบัติเหตุ ขณะ ซ้อมปากถือว่ายกเลิกกันไม่ต้องเสียเดิมพัน
กระสังปาก  คือการถักผูกปากบนไก่ โยงคล้อง ติดกับหงอนไก่ ป้องกันปากหลุด
แข้งคม  คือไก่ที่ตีคู่ต่อสู้เกิดบาดแผลออกอาการเจ็บปวด
แข้งจืด  คือไก่ที่ตีคู่ต่อสู้ไม่เจ็บปวด ไม่มีบาดแผล
บ่งอับ  คือไก่ที่มีน้ำอึดน้ำทน
เหนียว  คือไก่ที่มีความอึด ทน ไม่ยอมแพ้ โดยง่ายๆ เรียกว่ายอมตายคาสังเวียน
หงายไพล่  คือ ไก่ที่ถูกคู่ต่อสู้ในชั้นเชิงเหนือกว่าขี่ กอด ทับจิกหูนอก จนหงายหน้ามาจิกคู่ต่อสู้ทำให้คู่ต่อสามารถจิกตีได้ง่าย เรียก หงายไพล่ เป็นไก่เสียเชิงแพ้ง่าย
บ่อนไก่  คือสถานที่ชนไก่ที่ไม่มีการพนันชิงเดิมพันขันต่อ จะชนกัน 12 อันๆละ 23 -25 นาที ไม่สวมเครื่องป้องกันอันตราย หรือสวม แล้วแต่จะตกลงกัน
สนามไก่  คือ สถานที่ชนไก่ที่มีการพนันเป็นการเล่นพื้นบ้าน การกีฬาและการแสดง เรียกว่า ชนโชว์จะสวมเครื่องป้องกันอันตราย แก่ไก่
บ่อนผูก   คือสถานที่ชนไก่พนัน ที่ขออนุญาต ถูกต้องตามกฎหมาย
บ่อนป่า  คือ บางคนเรียก บ่อน เถื่อน  สถานที่ชนไก่พนัน ไม่ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย
นายบ่อน   คือผู้ จัดการให้มีการชนไก่พนัน
ให้น้ำ  คือ กระบวนการดูแลรักษาและแก้ไขไก่ขณะเข้าชน เช่น กราดน้ำ ทำแผล ยอนคอ กระสังปาก  ให้กินข้าว กินน้ำ การให้น้ำบางแห่ง เรียก ว่า ทำน้ำ
หนีน้ำ  คือไก่ที่ให้น้ำแล้วเข้าชนแล้วหนีคู่ต่อสู้
อัน  คือ ระยะเวลาในการชนไก่ บางทีเรียกว่า ยกโดยทั่วไปจะชน 12 อันๆละ 23-25 นาที
อันจม  คือระยะ เวลาที่น้ำไหลเข้ากะลาหรือขันน้ำเจาะรู วางใส่ในโหล ให้น้ำไหลเข้าจนเต็ม  ขัน จะจม เรียก อันจมเวลาประมาณ 23 นาที
อันพัก  คือระยะเวลา 1 อันขณะให้น้ำไก่
อันซ้อม  คือระยะเวลาในอันแรก ให้ไก่ได้ซ้อม ก ถ้าภายใน 1 อัน ไก่ไม่สู้หรือเกิดอุบัติเหตุ ถือว่า ยกเลิกกัน
อันล่อ  คืออันสุดท้ายอันที่ 12 ของการชนไก่  ไก่ชนกันมากครบ 11 อัน โดยไม่มีใครแพ้ใครชนะ ขึ้นอันที่ 12 ให้เจ้าของนำไก่มาล่อหน้ากันดู ถ้าไก่ฝ่ายใดอยู่ในสภาพ ที่จะสู้ต่อไปได้ ก็ให้เสมอถ้าไก่ฝ่าย ใดอยู่สภาพที่ไม่ต่อสู้ก็ถือว่าแพ้
ลงเหล่า  คือ ไก่ที่เกิดมามีสีสัน  รูปร่าง หน้าตาและเก่งเหมือนบรรพบุรุษของมัน
ชนเหล่า  คือ ไก่พวกเดียวกัน สายพันธุ์เดียวกัน มาชนกันเอง จะแพ้กันยาก เรียก ชนเหล่า คนโบราณจึงมักหวงแหนเหล่าของตนเองกลัวกลับมาตีกับตัวเอง
ยอนคอ  คือการเอาขนไก่ปั้น เอาเสลดและ น้ำลาย ไก่ออกจากปาก และลำคอไก่ตอนให้น้ำไก่
ไก่รองบ่อน  คือ ไก่ที่เจ้าของบ่อน เลี้ยงไว้รับไก่ จรจากที่อื่น ให้มาเปรียบคู่ชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น